บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยางพารา พันธุ์ใหม่ “สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT 408)


 สวัสดีครับ.......
          โอกาสปีใหม่ 2556 ผมจะขอแนะนำยางพาราไทยแท้ ครับ เหมาะที่สุดสำหรับพันธุ์นี้ ทนแล้ง ทนโรค ให้ปริมาณน้ำยางสูง โตเร็ว ดูแลดี 5 ปี ก็กรีดได้ 
          
     ยางพารา พันธุ์ใหม่ “สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT408) หรือ เฉลิมพระเกียรติ 984” (Chalerm Prakiat 984) สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้เปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนเมษายน 2554 ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนยางได้ให้ความสนใจอย่างล้นหลาม
เนื่องจากเป็นพันธุ์ยางที่ปลูกง่าย โตไว และให้ปริมาณน้ำยางสูง ที่สำคัญยังปลูก ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ได้ดีและมีความต้านทานโรคสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 โดยเฉพาะ ราแป้ง ใบร่วงไฟทอฟธอรา
นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ย้อนที่มา ยางพาราพันธุ์อาร์อาร์ไอที 408 ว่า สถาบันวิจัยยางได้ส่งเสริมให้เกษตรกรทดลองปลูกเมื่อปี 2550 โดยมีข้อกำหนดปลูกได้ ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ ไม่น้อยกว่า 7 ไร่ มีเกษตรกรในภาคอีสานที่ได้ทดลองปลูก บางพื้นที่ก็สามารถเปิดกรีดได้แล้ว เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และ บุรีรัมย์
        “ผลการวิจัยยืนยันออกมาชัดเจน ตรงที่ให้ปริมาณน้ำยางที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ มีความต้านทานโรคสูง โดยเฉพาะ ราแป้ง ใบร่วงไฟทอฟธอรา พร้อมส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไปในปี 2554 โดยสถาบันวิจัยยางจะเน้นการส่งมอบกิ่งพันธุ์ให้กับผู้ประกอบการที่มาขึ้นทะเบียนกับ กรมวิชาการเกษตร เพื่อนำไปติดขยายพันธุ์ และผลิตเป็นต้นตอตาและต้นยางชำถุงเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจในปีถัดไป
          นางนุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ยางพาราพันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT408) หรือเฉลิมพระเกียรติ 984 นี้ เดิมชื่อ RRI–CH–35–1396 เกิดจากการผสมระหว่าง ยางแม่พันธุ์ PB5/51 (มาเลเซีย) กับพ่อพันธุ์ RRIC101 (ศรีลังกา) ที่ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ได้ทำการคัดเลือกแล้วนำไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น และเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย ทั้งยังมีการประเมินระดับความต้านทานโรค เพื่อคัดเลือกต้นที่มีศักยภาพและตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์
        “ผลการวิจัยพบว่า ยางพาราพันธุ์นี้มีลักษณะการแตกกิ่งและทรงพุ่มที่สมดุลดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เกษตรกรในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เช่น พื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ซึ่งระดับน้ำใต้ดินสูง ก็ปลูกได้ มีการเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นโตกว่าพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ 7–10% และมีขนาดเส้นรอบวงที่เพิ่มแต่ละปี ระหว่าง 6–8 เซนติเมตร สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 ประมาณ 8–15% ทำให้เปิดกรีดได้เร็ว และมีจำนวนต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้มากตั้งแต่ปีแรกของการเปิดกรีด”
อ้างอิงข้อมูล: สุจินต์ แม้นเหมือน



ข้อมูลเพิ่มเติม ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ RRIT 408  http://www.rubberthai.com/emag/files/Y_2562/ISSUE_3/FILE/f03082011-144241_movie.swf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น