บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ยางพารา พันธุ์ใหม่ “สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT 408)


 สวัสดีครับ.......
          โอกาสปีใหม่ 2556 ผมจะขอแนะนำยางพาราไทยแท้ ครับ เหมาะที่สุดสำหรับพันธุ์นี้ ทนแล้ง ทนโรค ให้ปริมาณน้ำยางสูง โตเร็ว ดูแลดี 5 ปี ก็กรีดได้ 
          
     ยางพารา พันธุ์ใหม่ “สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT408) หรือ เฉลิมพระเกียรติ 984” (Chalerm Prakiat 984) สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้เปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนเมษายน 2554 ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนยางได้ให้ความสนใจอย่างล้นหลาม
เนื่องจากเป็นพันธุ์ยางที่ปลูกง่าย โตไว และให้ปริมาณน้ำยางสูง ที่สำคัญยังปลูก ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ได้ดีและมีความต้านทานโรคสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 โดยเฉพาะ ราแป้ง ใบร่วงไฟทอฟธอรา
นายสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ย้อนที่มา ยางพาราพันธุ์อาร์อาร์ไอที 408 ว่า สถาบันวิจัยยางได้ส่งเสริมให้เกษตรกรทดลองปลูกเมื่อปี 2550 โดยมีข้อกำหนดปลูกได้ ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ ไม่น้อยกว่า 7 ไร่ มีเกษตรกรในภาคอีสานที่ได้ทดลองปลูก บางพื้นที่ก็สามารถเปิดกรีดได้แล้ว เช่น จังหวัดอุบลราชธานี และ บุรีรัมย์
        “ผลการวิจัยยืนยันออกมาชัดเจน ตรงที่ให้ปริมาณน้ำยางที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ มีความต้านทานโรคสูง โดยเฉพาะ ราแป้ง ใบร่วงไฟทอฟธอรา พร้อมส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไปในปี 2554 โดยสถาบันวิจัยยางจะเน้นการส่งมอบกิ่งพันธุ์ให้กับผู้ประกอบการที่มาขึ้นทะเบียนกับ กรมวิชาการเกษตร เพื่อนำไปติดขยายพันธุ์ และผลิตเป็นต้นตอตาและต้นยางชำถุงเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจในปีถัดไป
          นางนุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ยางพาราพันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 408 (RRIT408) หรือเฉลิมพระเกียรติ 984 นี้ เดิมชื่อ RRI–CH–35–1396 เกิดจากการผสมระหว่าง ยางแม่พันธุ์ PB5/51 (มาเลเซีย) กับพ่อพันธุ์ RRIC101 (ศรีลังกา) ที่ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ได้ทำการคัดเลือกแล้วนำไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้น และเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย ทั้งยังมีการประเมินระดับความต้านทานโรค เพื่อคัดเลือกต้นที่มีศักยภาพและตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์
        “ผลการวิจัยพบว่า ยางพาราพันธุ์นี้มีลักษณะการแตกกิ่งและทรงพุ่มที่สมดุลดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เกษตรกรในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เช่น พื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ซึ่งระดับน้ำใต้ดินสูง ก็ปลูกได้ มีการเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นโตกว่าพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ 7–10% และมีขนาดเส้นรอบวงที่เพิ่มแต่ละปี ระหว่าง 6–8 เซนติเมตร สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 ประมาณ 8–15% ทำให้เปิดกรีดได้เร็ว และมีจำนวนต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้มากตั้งแต่ปีแรกของการเปิดกรีด”
อ้างอิงข้อมูล: สุจินต์ แม้นเหมือน



ข้อมูลเพิ่มเติม ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ RRIT 408  http://www.rubberthai.com/emag/files/Y_2562/ISSUE_3/FILE/f03082011-144241_movie.swf

พันธุ์ยาง RRIT 251

         วันนี้เรามาคุยกันอีกครับ เกี่ยวกับพันธุ์ยางที่ดีและเหมาะสมที่จะปลูกแถวโซนภาคเหนือ ซึ่งผมเคยอธิบายเกี่ยวกับพันธุ์ RRIM 600 ไปแล้ว วันนี้มีพูดคุยกับอีกสายพันธุ์ครับ
- ยางพารา พันธุ์ RRIT 251


พันธุ์ยาง RRIT 251

พ่อพันธุ์ X แม่พันธุ์  ไม่แน่ชัดครับ แต่ได้มาจากการคัดต้นพันธุ์มาจากแปลงเอกชนจังหวัดสงขลา
ลักษณะใบยาง 251

คุณสมบัติลักษณะเด่น RRIT251
          
1.  ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูงมาก
               1.1  RRIT 251 ให้ผลผลิตเนื้อยอย่างแห้งเฉลี่ย ปีกรีด  467.2 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งให้ผลผลิต218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 59.4
               1.2  RRIT 251   ให้ผลผลิตเนื้อยางแห้ง เฉลี่ย 10 ปีกรีด    474.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  สูงกว่าพันธุ์ GT 1    ซึ่งให้ผลผลิต 218.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  คิดเป็นร้อยละ 117.4
          2.  การเจริญเติบโต  ระยะก่อนเปิดกรีดดี  RRIT 251   เมื่ออายุ 7 ปี    มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 51.6เซนติเมตร    ขนาดใหญ่กว่าพันธุ์RRIM 600 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 74.2 เซนติเมตร  และใกล้เคียงกับพันธุ์ GT 1 ที่มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 50.1 เซนติเมตร
          3.  จำนวนต้นเปิดกรีดมาก RRIT 251  มีขนาดลำต้นสม่ำเสมอดีมาก    จึงมีจำนวนต้นเปิดกรีดมากคิดเป็นร้อยละ 78.0 ของแปลงมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ 66.3 และ 13.2 ตามลำดับ
          4.  ความหนาเปลือก  และจำนวนท่อน้ำยางมาก RRIT 251    เมื่ออายุ ปี   มีความหนาเปลือกเฉลี่ย 5.8 มิลลิเมตร  หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 13.7   และ 1.7 ตามลำดับ และเมื่ออายุ 20 ปี    ความหนาเปลือกเพิ่มเป็น 9.8 มิลลิเมตร   หนากว่าพันธุ์RRIM 600  และ GT 1 ถึงร้อยละ15.2 และ 11.3 ตามลำดับ
          5.  จำนวนท่อน้ำยางมาก RRIT 251 เมื่ออายุ ปี  มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 10.5 วง มากกว่า พันธุ์RRIM 600 และ GT 1 ร้อยละ23.5 และ 10.5 ตามลำดับ  และ เมื่ออายุ 20 ปี มีจำนวนวงท่อน้ำยาง 39.4วง มากกว่าพันธุ์ RRIM 600  และ GT 1 ร้อยละ 23.1 และ 86.7 ตามลำดับ       
   6.  ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา  ออยเตียม และคอลเลโทตริกัม  ดีกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1

ข้อแนะนำ
           - พันธุ์ RRIT1 251   มีขนาดทรงพุ่มใหญ่  และการแตกกิ่งไม่สมดุล ปลูกได้พื้นที่ราบทั่วไป ที่ราบลุ่ม ไม่แนะนำปลูกพื้นที่ลาดชัน 30 องศาขึ้นไป
          - ระยะการปลูก 3.5x6 , 4x5 , 3x7   เมตร
          - ควรปลูกใกล้แหล่งน้ำ ลำธาร คลอง หนอง บึง
          - แบ่งหน้ากรีดครึ่งลำต้น  กรีดวันเว้นวัน
          - การบำรุงรักษาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 30-5-18 หรือ 25-7-18 หรือสูตรใกล้เคียง  แบ่งใส่ต้นละ 500กรัม 3ครั้ง/ปี  สลับการใส่ปุ๋ยหมัก หรืออินทรีย์ชีวภาพ 3 กิโลกรัม/ต้น/ปี

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พันธุ์ยาง RRIM 600

สวัสดีครับ......
           หลายท่านอาจจะสงสัยว่าเมืองไทยเราเป็นเบอร์ 1ของการผลิตยางส่งออก แต่ทำไม เราตั้งราคาขายเองไม่ได้ ต้องให้ ประเทศเพื่อนบ้านเป็นคนตั้งราคา ทำไมต้องผ่านคนกลาง ทำไม เราไม่ผลิตเอง ขายเองข้อ สงสัยเรื่องนี้ผมจะมาให้คำตอบในวันหลังก็แล้วกัน

           เข้าเรื่องเลยครับ ผมจะมาอธิบาย เรื่องพันธุ์ยางที่ดี และเหมาะสมกับภาคเหนือของเราว่าควรจะปลูกพันธุ์ไหนดี เอาเป็นว่ามาสายพันธุ์หลักๆ ที่ตอนนี้เริ่มเอามาปลูกกันนะครับ

- พันธุ์ RRIM 600  
   แม่พันธุ์ X พ่อพันธุ์    Tjir 1 x PB 86


       ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวอมเหลือง ลักษณะฉัตรใบเป็นรูปกรวยมีขนาดเล็ก แตกกิ่งช้า กิ่งมีขนาดปานกลาง ทิ้งกิ่งมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตรระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมบางเปลือกงอกใหม่หนาปานกลางพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 10 ปีกรีดเฉลี่ย 297 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี พื้นที่ปลูกยางใหม่ให้ผลผลิต 9 ปีกรีดเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคราสีชมพู ค่อนข้างอ่อนแอ ต่อโรคเส้นดำ ต้านทานต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนระดับปานกลาง มีจำนวนต้น
เปลือกแห้งน้อย ต้านทานลมระดับปานกลาง
ข้อแนะนำไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ ระบาดรุนแรง
ข้อจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง


        ตอนนี้ทางภาคเหนือเรา โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ปลูกพันธุ์ RRIM 600 เยอะที่สุด ประมาณ 500,000 ไร่ เปิดกรีดไปแล้วประมาณ 30% ของพื้นที่ ผลผลิต ก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะอะไรครับ ทำไมยางพาราที่ปลูกที่ทางใต้มาปลูกทางเหนือแล้วได้ผล จริงๆ แล้วยางพาราสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยครับ คนส่วนมากเข้าใจว่าต้องปลูกทึ่ใต้ถึงจะได้ผล มันไม่จริงครับ มันได้ผลดีกว่าอีก เพราะเป็นพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางใหม่ ปัญหาเรื่องโรคยางจึงน้อยกว่าทางใต้ครับ อันนี้เป็นผลดีกับชาวสวนยางทางภาคเหนือ

สวนที่เปิดกรีดแล้วครับ

ผมจะค่อย ๆ เอา ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ยางมาเขียนลงเรื่อยๆ ครับ แล้วเรามาพิจารณากันว่าพันธุ์ไหนดีกว่า ซึ่งผมไม่ได้เก่งอะไรมากนัก แต่คลุกคลีกับสวนยางมาตลอดชีวิต อาศัยจดจำ และก็ถามผู้รู้ตลอด
       ท่านผู้อ่านสงสัย หรือสอบถามการเลือกสายพันธุ์ หรือสอบถามเรื่องอื่นๆ ก็สามารถสอบถามได้ ผมจะตอบคำถามให้ครบทุกเรื่องเลยครับถ้าเกี่ยวกับยางพารา หรือ ฝากข้อมูลติดต่อ ไว้ที่ ช่องทางติดต่อ ก็ได้ครับ